เราเชื่อว่าหลายคนรู้ว่ามือถือเครื่องรักของคุณสามารถติดไวรัสได้ ไม่ว่าจะช่องทางได้ก็ช่องทางหนึ่ง โดยไววัสสามารถแพร่กระจายได้หลายวิธี

เช่น การดาวน์โหลดไฟล์หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่รู้จัก การคลิกลิงก์จากอีเมลหรือข้อความที่หลอกลวง การแฮ็กอุปกรณ์ และการสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ติดเชื้อ

Antivirus

ทั้งนี้ อาการของมือถือติดไววัสอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของไววัสและความรุนแรงของการติดไววัส อาการที่พบบ่อย

ทำหรับบทความนี้ เราจึงอยากชวนเพื่อนๆ มาปกป้องมือถือของคุณด้วยแอนติไวรัสฟรีที่ได้รางวัลการันตีสำหรับ Android สแกนและปกป้องอุปกรณ์ของคุณจากไวรัสและมัลแวร์อื่นๆ ได้แบบเรียลไทม์ เพิ่มความเป็นส่วนตัว และยกระดับประสิทธิภาพโทรศัพท์

แอปป้องกันไวรัสบนมือถือแอนดรอยด์ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยปกป้องมือถือจากมัลแวร์และภัยคุกคามทางไซเบอร์อื่นๆ โดยแอปป้องกันไวรัสเหล่านี้จะสแกนไฟล์และแอปพลิเคชันต่างๆ บนมือถือเพื่อหามัลแวร์ ที่ไม่ปลอดภัย หากพบมัลแวร์ แอปป้องกันไวรัสก็จะลบออกเพื่อไม่ให้มัลแวร์ทำงาน

นอกจากนี้ แอปป้องกันไวรัสบางตัวยังมีฟีเจอร์อื่นๆ ที่ช่วยปกป้องความปลอดภัยของมือถือ เช่น การปกป้องข้อมูลส่วนตัว การป้องกันเว็บฟิชชิ่ง และการล็อคแอปพลิเคชัน หรือตรวจสอบไวรัสที่มากับเว็บไซต์ เป็นต้น

ในปัจจุบันมีแอปป้องกันไวรัสบนมือถือแอนดรอยด์ให้เลือกใช้งานมากมาย แต่ละแอปก็มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงควรเลือกแอปป้องกันไวรัสที่เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น

  • ประสิทธิภาพในการสแกนหามัลแวร์ ว่าทำได้ดีขนาดไหน
  • ฟีเจอร์ต่างๆ ที่ให้มาภายใน Apps
  • ราคาที่จะใช้บริการ เพราะมีให้เลือกทั้งฟรีและเสียค่าบริการ

และนี้คือแอปฟรีป้องกัน Spyware บนมือถือ Android ที่แนะนำให้ลองหามาโหลดทั้งหมด 13 โปรแกรมได้แก่

  1. Avast Antivirus
  2. AVG Anti-Virus โปรแกรมป้องกันไวรัสและความปลอดภัย
  3. Bitdefender Antivirus
  4. Comodo Mobile Security
  5. Eset Mobile Security & Antivirus
  6. Kaspersky Mobile Antivirus
  7. Lookout Security & Antivirus
  8. Microsoft Defender
  9. MalwareFox Anti-Malware
  10. Malwarebytes Security
  11. Mobile Security From McAfee
  12. Norton Mobile Security
  13. 360 Security

โดยหากต้องการโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ควรเลือกโปรแกรมแอนตี้ไวรัสจากผู้ให้บริการชั้นนำ เช่น Norton, Bitdefender, McAfee และ Kaspersky

ทั้งนี้ แอปป้องกันไวรัสเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยปกป้องความปลอดภัยของมือถือเท่านั้น ดังนั้นผู้ใช้ควรใช้สมาร์ทโฟนอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่รู้จัก รวมถึงนอก Google Play Store และที่สำคัญที่สุดอัปเดตซอฟต์แวร์มือถืออยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดมัลแวร์ ได้อีกทางหนึ่ง 

อ้างอิง – Sanook.com

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
เช็คก่อนซื้อ! 5 ฟังก์ชันที่ต้องมีในจอมอนิเตอร์สำหรับคนทำงานสายครีเอเตอร์
3 ขั้นตอน เตรียมตัวก่อนใช้ eSIM กับ TrueMove H
ใครก็ทำได้…สอน เป็นของตัวเอง ปรับแต่งได้ ใช้นานแค่ไหนก็ได้

Leave Your Reply

*