เนื่องด้วยในสัปดาห์นี้ มีผู้นำระดับโลก ผู้สนับสนุน กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่นๆ กำลังเข้าร่วมงานประชุม COP26 ซึ่งจัดขึ้นในเมืองกลาสโกว์ ในวันนี้ Meta จึงเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ซึ่งจะช่วยจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่ 1.5 องศาเซลเซียส โดยความมุ่งมั่นดังกล่าวยังรวมถึงการขยายการดำเนินงานของศูนย์ภูมิอากาศวิทยา (Climate Science Center) ของ Facebook ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค สะท้อนให้เห็นถึงการสนับสนุนในระดับโลกอย่างท่วมท้นเพื่อเข้าร่วมความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Climate Agreement) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ซึ่งมีผู้คนจำนวน 9 ใน 10 ที่สนับสนุนการเข้าร่วมความตกลงดังกล่าว โดย 6 ใน 10 คิดว่ารัฐบาลควรจัดลำดับความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในระดับสูงหรือสูงมาก และราว 8 ใน 10 ต้องการให้มีการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

Meta ในฐานะที่เป็นธุรกิจระดับโลกที่เชื่อมต่อผู้คนจำนวนกว่า 3 พันล้านคนในแต่ละเดือน เข้าใจถึงโอกาสและหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง โดยในปีที่ผ่านมา ทางบริษัทได้บรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์สำหรับการดำเนินงานในระดับโลกเรียบร้อยแล้ว โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 94 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา และยังได้รับการสนับสนุนด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ Meta ยังได้ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายด้วยการผลักดันให้ซัพพลายเออร์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และสำหรับการดำเนินงาน ทางบริษัทมีเป้าหมายในการบำบัดน้ำในปริมาณที่มากกว่าการใช้งานภายในปี พ.ศ. 2573 โดยตั้งแต่การทำสัญญาในการใช้งานพลังงานลมในปี พ.ศ. 2556 Meta ได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมแบบใหม่ไปแล้วกว่า 7 กิกะวัตต์

ส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ Meta ยังรวมถึงการร่วมมือกับโครงการ Yale Program on Climate Change Communication เพื่อทำการสำรวจผู้ใช้ Facebook ใน 30 ประเทศและอาณาเขตต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงในประเทศไทย และสอบถามพวกเขาเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

โดยในแต่ละประเทศที่ได้ทำการสำรวจถูกค้นพบว่า กว่า 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นจริง แต่มีคนจำนวนน้อยกว่านั้นที่เข้าใจว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ ในประเทศไทย 7 ใน 10 คนของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขาค่อนข้างกังวลหรือกังวลมากเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และ 8 ใน 10 คนกล่าวว่าพวกเขาต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

ด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับความจำเป็นในการช่วยให้ผู้คนได้ค้นพบกับข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องบนแอปพลิเคชันในเครือของบริษัท รวมถึงการจัดการกับข้อมูลเท็จในเวลาเดียวกัน ในวันนี้ Meta จึงได้แชร์ข้อมูลโครงการด้านสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการขยายการดำเนินงานเพิ่มเติม ดังนี้

ยกระดับข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ Meta กำลังขยายการดำเนินงานของศูนย์ภูมิอากาศวิทยาบน Facebook ในกว่า 100 ประเทศ เพื่อเชื่อมต่อผู้คนเข้ากับแหล่งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงองค์กรด้านสภาพภูมิอากาศชั้นนำของโลก รวมถึงวิธีการในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในการใช้ชีวิตของพวกเขา และการให้ข้อมูลในหมวดใหม่เพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศต่าง ๆ เมื่อเทียบกับความมุ่งมั่นและเป้าหมายของประเทศนั้น ๆ

การจัดการกับข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ในช่วงก่อนการประชุม COP26 การดำเนินงานเพื่อตรวจจับคีย์เวิร์ดในช่วงการจัดงานครั้งสำคัญที่เปิดโอกาสให้สาธารณชนมีส่วนร่วมช่วยให้ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงสามารถดำเนินงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่งเสริมการดำเนินงานที่มีอยู่แล้วของ Meta ในการร่วมมือกับองค์กรผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระกว่า 80 องค์กรทั่วโลกเพื่อตรวจสอบและจัดลำดับเนื้อหาต่างๆ ซึ่งรวมถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลจากการสำรวจที่จัดทำขึ้นโดยโครงการ Yale Program ระบุว่ากว่า 8 ใน 10 ของชาวไทยเชื่อว่า ประเทศไทยควรใช้พลังงานที่มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ในขณะที่ 53 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าการดำเนินงานเพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะช่วยพัฒนาการเติบโตเชิงเศรษฐกิจและสร้างอาชีพใหม่ ๆ

ดังนั้น Messenger จึงสนับสนุนบทสนทนาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการช่วยให้ผู้คนสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างทันท่วงทีในช่วงงานประชุม COP26 โดย Messenger จะสนับสนุนอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) ด้วยการเปิดตัวสติ๊กเกอร์กล้องถ่ายรูปชุดใหม่เพื่อช่วยคุณในการสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ง่ายดายยิ่งขึ้น

การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก Meta จะเปิดตัวโครงการฝึกอบรมเพื่อความยั่งยืนเพื่อสนับสนุนธุรกิจบนแอปพลิเคชันในเครือของบริษัทในการจัดการปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการลดการปล่อยคาร์บอน และช่วยเหลือให้ธุรกิจของ

พวกเขาเติบโตได้อย่างยั่งยืน

การแชร์ความคิดเห็นด้านการจัดการสภาพภูมิอากาศในการประชุม COP26 ประกอบด้วยการนำผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์มาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาใหม่ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้ข้อมูลและสร้างแรงบันดาลใจในการจัดการปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ พร้อมไลฟ์สตูดิโอภายในงานประชุม COP26 ซึ่ง Meta มีบทบาทในจัดรายการสนทนาร่วมกับผู้นำทางความคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่าง ๆ รวมถึงการจัดรายการพอดแคสต์ใหม่ที่มีชื่อว่า Climate Talks โดยมี โซเฟีย ลี เป็นผู้ดำเนินรายการ และรายการไลฟ์สตรีม Say It With Science ผ่าน Facebook Live ที่ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ Instagram ยังจะเปิดตัวชุดบทความ “Our Planet in Crisis” ที่จะบอกเล่าเรื่องราวของนักกิจกรรมและผู้จัดซึ่งดำเนินงานอย่างทุ่มเทเพื่อสร้างความตระหนักรู้และสนับสนุนผู้อื่นให้จัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในชุมชนท้องถิ่นของพวกเขา

การดำเนินงานเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลงทุนที่มีมาอย่างยาวนานของ Meta ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก รวมถึงการช่วยให้ผู้คนหันมาทำแบบเดียวกันได้ง่ายขึ้น คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการล่าสุดเหล่านี้ได้ที่ https://about.fb.com/news/2021/11/our-commitment-to-combating-climate-change/ 

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
เตรียมเก็บภาษี7% สินค้าสั่งนำเข้าออนไลน์ แก้สำแดงเท็จต่ำกว่า 1,500 บาท
ชมตัวอย่างภาพ “Google Pixel 3 Lite” สวยไม่ธรรมดาในราคาน่าคบ
เทียบภาพถ่าย iPhone 11 Pro vs iPhone XS vs Google Pixel 3 vs Samsung Galaxy Note 10

Leave Your Reply

*