หัวเว่ย เปิดศูนย์เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์และความโปร่งใสในด้านการปกป้องความเป็นส่วนตัวระดับโลก (Global Cyber Security and Privacy Protection Transparency Center) ที่ใหญ่ที่สุด ณ เมืองต่งกวน ประเทศจีน

โดยมีตัวแทนจากองค์กร GSMA, SUSE, สถาบัน British Standards Institution รวมถึงตัวแทนภาครัฐจากทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอินโดนีเซียเข้าร่วมกล่าวเปิดงาน

นายเคน หู (Ken Hu) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวในงานเปิดศูนย์ดังกล่าวว่า “ทุกวันนี้ ความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเรื่องสำคัญมาก เมื่อมองในภาคระดับอุตสาหกรรมแล้ว เราต้องทำงานร่วมกันเพื่อแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ได้ผล ร่วมกันสร้างความสามารถในการร่วมกันควบคุมดูแล สร้างมาตรฐาน เทคโนโลยี และการตรวจสอบ ซึ่งสามารถโน้มน้าวให้ทั้งผู้ออกข้อกำหนดต่าง ๆ และสาธารณชนเชื่อมั่นในความปลอดภัยของบริการและผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาใช้งานในชีวิตประจำวันได้ เมื่อทำงานร่วมกันแล้ว เราจะสามารถสร้างสมดุลระหว่างความปลอดภัยและการพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีดิจิทัลของโลกของเราได้”

kenhu_huaweiopensitslarge

นายเคน หู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวเปิดศูนย์เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์และความโปร่งใสในด้านการปกป้องความเป็นส่วนตัวระดับโลก ของหัวเว่ย ณ เมืองดองกวน ประเทศจีน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ  5G และ AI ได้ส่งผลให้โลกไซเบอร์มีความซับซ้อนขึ้นมาก นอกจากนี้ ความจริงที่ว่าผู้คนหันมาใช้เวลาออนไลน์กันมากขึ้นเนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ก็ยิ่งเพิ่มความซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้ได้สร้างให้เกิดภัยทางไซเบอร์ใหม่ ๆ ขึ้นมา

หัวเว่ยจึงเปิดศูนย์เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์และความโปร่งใสในด้านการปกป้องความเป็นส่วนตัวในระดับโลก ที่เมืองต่งกวนเพื่อช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยเป็นการสร้างพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมได้ร่วมกันแบ่งปันความเชี่ยวชาญด้านการจัดการดูแลโลกไซเบอร์ และร่วมสร้างโซลูชันต่าง ๆ ไปด้วยกัน

ศูนย์นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยแสดงโซลูชันต่าง ๆ และแบ่งปันความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ที่มี เพื่อช่วยในด้านการสื่อสารและการสร้างนวัตกรรมระหว่างกัน รวมถึงช่วยสนับสนุนการทดสอบและการรับรองทางด้านความปลอดภัย โดยศูนย์นี้จะเปิดให้ทั้งผู้กำหนดกฎเกณฑ์ องค์กรตรวจสอบอิสระ องค์กรที่มีบทบาทในการสร้างมาตรฐาน รวมถึงลูกค้า เหล่าพันธมิตร และผู้ให้บริการของหัวเว่ยให้สามารถใช้งานได้ด้วย

เพื่อพัฒนาต่อยอดแนวทางร่วมสำหรับความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม องค์กรต่างๆ เช่น องค์กรกำกับดูแลมาตรฐานการ​สื่อสาร (Global System for Mobile Communications – GSMA) และกลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (The 3rd Generation Partnership Project – 3GPP) ได้ร่วมงานกับผู้ที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการทดสอบด้านความปลอดภัย (NESAS Security Assurance Specifications) รวมถึงการรับรองจากหน่วยงานอิสระอื่น ๆ  โดยมาตรฐานเหล่านี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางภายในภาคอุตสาหกรรม และยังมีบทบาทสำคัญสำหรับการพัฒนาและการตรวจสอบโครงข่ายที่ปลอดถัย

นายแมทส์ แกรนรีด อธิบดีองค์กร GSMA ได้กล่าวในพิธีเปิดศูนย์แห่งใหม่ของหัวเว่ยว่า “การทำให้การบริการใหม่ ๆ รวมถึงบริการที่มีอยู่แล้วในยุค 5G เกิดขึ้นได้จริงนั้น จำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมต่อที่เกิดจากโครงข่ายมือถือเป็นอย่างมาก และยังต้องอาศัยความปลอดภัยและความเชื่อถือได้ของเทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน นอกจากนี้ โครงการริเริ่มต่าง ๆ เช่น ฐานความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับเทคโนโลยี 5G ขององค์กร GSMA (GSMA 5G Cybersecurity Knowledge Base) ยังได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ร่วมอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความเข้าใจและลดความเสี่ยงด้านโครงข่าย รวมถึงองค์กร NESAS (Network Equipment Security Assurance Scheme) ซึ่งเป็นกรอบการรับรองความปลอดภัยที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ก็ได้รับการออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการพัฒนาระดับความปลอดภัยของอุปกรณ์โครงข่ายอย่างครอบคลุมทุกภาคส่วน”

ภายในงานเปิดศูนย์แห่งใหม่ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวค่ามาตรฐานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของผลิตภัณฑ์ (Product Cyber Security Baseline) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของทางบริษัทที่ได้จัดทำมาตรฐานดังกล่าวพร้อมกับแนวทางการดำเนินการจัดการสำหรับทั้งอุตสาหกรรมอีกด้วย ถือเป็นส่วนหนึ่งในความมุ่งมั่นของบริษัทเพื่อการมีส่วนร่วมกับลูกค้า ผู้จัดจำหน่าย องค์กรด้านมาตรฐาน และผู้มีส่วนร่วมอื่น ๆ เพื่อที่จะเสริมสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ร่วมกันได้อย่างครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรม

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้สร้างโครงข่ายมากกว่า 1,500 โครงข่าย โดยสามารถเชื่อมต่อผู้คนมากกว่า 3,000 ล้านคนในกว่า 170 ประเทศและภูมิภาค และยังไม่มีโครงข่ายใดเลยที่ประสบปัญหาวิกฤติด้านความปลอดภัย

“ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน โดยทั้งภาครัฐ องค์กรด้านมาตรฐาน และกลุ่มผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีต่างต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อพัฒนาความเข้าใจร่วมกันในด้านความท้าทายของความปลอดภัยทางไซเบอร์ และต้องเป็นความมุ่งมั่นร่วมกันในระดับนานาชาติ โดยเราต้องร่วมกันตั้งเป้าหมาย จัดสรรความรับผิดชอบให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมถึงร่วมมือกันสร้างสภาพแวดล้อมทางด้านดิจิทัลที่เชื่อถือได้ ซึ่งสามารถรับมือกับความท้าทายทั้งในปัจจุบันและในอนาคต” นายเคน หู กล่าวในพิธีเปิด

ข่าวประชาสัมพันธ์

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
realme เตรียมเปิดตัวสมาร์ทโฟนเรือธง realme X50 Pro 5G จัดเต็มกับประสิทธิภาพที่เหนือกว่า
“AIS Serenade” จับมือ พรูเด็นเชียลประเทศไทย ขนทัพกูรูศาสตร์ด้านตัวเลข การเงินและการลงทุน
ออเนอร์เพลย์ รับรางวัล Best of IFA 2018 จากสื่อชั้นนำระดับโลก

Leave Your Reply

*