การประชุมในหัวข้อ “เครือข่าย IP อัจฉริยะชั้นนำ เร่งพลิกโฉมสู่การเชื่อมต่ออัจฉริยะ” (Leading Intelligent IP Networks, Accelerating the Transformation Towards Intelligent Connectivity) ของหัวเว่ย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างงานประชุมสุดยอด Huawei Global Analyst Summit 2020 ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

การประชุมดังกล่าวได้อธิบายถึงลักษณะทั่วไป 3 ประการของเครือข่าย IP อัจฉริยะ ได้แก่ ศักยภาพการรองรับขั้นสูง (super capacity), ประสบการณ์เทคโนโลยีอัจฉริยะ (intelligent experience) และการขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ (autonomous driving)

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เล่าถึงเรื่องราวความสำเร็จนานัปการที่เกี่ยวกับเครือข่าย IP อัจฉริยะในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการสื่อสารข้อมูล (Data Communication) ได้เข้าสู่ยุคสมัยแห่งเครือข่าย IP อัจฉริยะแล้ว

สืบเนื่องจากเทคโนโลยี 5G เทคโนโลยีคลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในองค์กรทุกขนาด บริษัทต่างๆ ซึ่งกำลังมุ่งสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ต่างก็เผชิญความท้าทายที่มักจะเกิดขึ้นครั้งหนึ่งในแต่ละยุคสมัย เช่น การต้องทำงานประสานกันระหว่างสายการผลิตนับล้านๆ แห่งกับสำนักงานปลายทาง การย้ายบริการทั้งหมดของบริษัทขึ้นสู่คลาวด์ และอัตราการใช้ AI ที่สูงถึง 97 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเครือข่าย IP เป็นส่วนสำคัญขององค์กรใรนการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล

ดังนั้น เครือข่าย IP เองก็เผชิญกับปัญหามากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นแบนด์วิดท์ไม่เพียงพอ ประสบการณ์การใช้บริการที่ย่ำแย่ การดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) รวมถึงการแก้ปัญหาของเครือข่ายมีประสิทธิภาพต่ำ ซึ่งเครือข่าย IP อัจฉริยะคือกุญแจสำคัญที่จะเอาชนะปัญหาข้างต้นได้ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าเครือข่ายประเภทใดเป็นเครือข่าย IP อัจฉริยะ หัวเว่ยจึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของเครือข่ายทั่วไป ดังต่อไปนี้

ศักยภาพการรองรับขั้นสูง (super capacity): เครือข่าย IP จะเปลี่ยนเป็นเครือข่าย IP อัจฉริยะที่รองรับการใช้งานในอนาคตและขยายแบนด์วิดท์ได้ เปลี่ยนผ่านจาก 100GE เป็น 400GE และจาก Wi-Fi 5 เป็น Wi-Fi 6

นอกจากนี้ เครือข่ายในอนาคตจะต้องมีการใช้แบนด์วิดท์แบบแยกส่วนบนเครือข่ายที่แยกจากกัน (slice-based bandwidth isolation) ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการปรับขนาดแบนด์วิดท์ได้

ประสบการณ์เทคโนโลยีอัจฉริยะ (intelligent experience) – เครือข่าย IP อัจฉริยะโดดเด่นด้วยความอัจฉริยะในการแยกแยะคัดกรองประเภทของบริการ (service types) วัตถุประสงค์ของบริการ (service intent inference) รวมถึงการปรับเปลี่ยนทรัพยากรเครือข่ายตามการเปลี่ยนแปลงของคลาวด์แบบเรียลไทม์ ซึ่งคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้จะทำให้สามารถส่งมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อเครือข่ายได้ตลอดเวลา

การขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ (autonomous driving) – เครือข่าย IP อัจฉริยะสามารถติดตั้งอัตโนมัติและปรับเปลี่ยนบริการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ AI แก้ไขข้อผิดพลาดแบบอัตโนมัติได้ ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานและ การบำรุงรักษา (O&M) เป็นไปในเชิงรุกและเครือข่ายมีสภาพพร้อมใช้งานสูง

นายเควิน หู ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กำลังกล่าวปราศรัยระหว่างงานประชุมสุดยอด Huawei Global Analyst Summit 2020

นายเควิน หู ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า “ปี พ.ศ. 2563 จะเป็นปีแรกสำหรับการใช้งานเครือข่าย IP อัจฉริยะในเชิงพาณิชย์ ทั้งอุตสาหกรรมได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ของเครือข่าย IP จากอินเทอร์เน็ต IP ในยุคสมัยของ World Wide Web สู่เครือข่าย IP แบบขับเคลื่อนโดยวิดีโอ และกำลังเคลื่อนเข้าสู่ IP อัจฉริยะที่มุ่งเน้นเทคโนโลยี 5G และคลาวด์

เมื่อมองไปข้างหน้า หัวเว่ยจะยืนหยัดสร้างควา เปลี่ยนแปลงและเพิ่มการลงทุนด้านการพัฒนาศักยภาพขั้นสูง การมอบประสบการณ์อัจฉริยะ และเทคโนโลยีการขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติเพื่อสร้างเครือข่าย IP อัจฉริยะแบบครบวงจร (End to end – E2E) ให้แก่กลุ่มลูกค้า ในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง”

โซลูชันเครือข่าย IP อัจฉริยะของหัวเว่ยนี้ป็นนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จในการผสมผสานลักษณะพิเศษที่ล้ำสมัยสามประการเข้าด้วยกัน และยังรองรับการนำไปใช้งานในวงกว้าง ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เช่น เครือข่ายในแคมปัส (Campus Network), เครือข่ายศูนย์ข้อมูล (Data Center Network) และ เครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง (Wide Area Network – WAN)

โดยโซลูชันที่มีจุดเด่นมากมายเช่นนี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการสร้างเครือข่ายแคมปัสคุณภาพสูง โซลูชันนี้ได้นำผลิตภัณฑ์ AirEngine Wi-Fi 6 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชั้นนำในอุตสากรรมที่พัฒนาโดยหัวเว่ยมาใช้งาน และโดดเด่นด้วย 16T16R เสาอากาศอัจฉริยะแบบพิเศษที่สามารถมอบความเร็วสำหรับการใช้งานของผู้ใช้รายบุคคล (single-user performance) ได้ถึง 1.6 Gbps มากกว่าค่าเฉลี่ยของภาคอุตสาหกรรมถึง 20%) นอกจากนี้ ลักษณะเด่นอีกประการของผลิตภัณฑ์ AirEngine Wi-Fi 6 ของหัวเว่ยคือ การเทียบคลื่นวิทยุอัจฉริยะ (intelligent radio calibration) ที่ปฏิบัติการโดยเทคโนโลยี AI ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราความเร็วโดยเฉลี่ยสำหรับการเชื่อมต่อโดยสถานีต่างๆ (STAs) ได้มากกว่า 50%

โซลูชันดังกล่าวยังได้นำระบบ O&M อัจฉริยะ ซึ่งปฏิบัติการโดย AI มาใช้งาน ช่วยลดค่าเวลาเฉลี่ยของการซ่อม (Mean Time to Repair – MTTR) จาก 4 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 10 นาที ความต่างที่ว่านี้ช่วยพัฒนาประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ให้ดีขึ้นเป็น
อย่างมาก ช่วยสร้างเครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะที่ทันสมัยและไร้สายอย่างสมบูรณ์แบบ สำหรับการใช้งานที่ครอบคลุมหลากหลายสถานการณ์ เช่น แคมปัสขนาดใหญ่ของหัวเว่ยที่รองรับการใช้งานของพนักงานกว่า 194,000 คน และโกดังสินค้าแบบดิจิทัลของ SONGMICS ผู้จำหน่ายของใช้จำเป็นภายในบ้านที่ใหญ่ที่สุดบนเว็บไซต์ Amazon ในประเทศเยอรมนี

โซลูชันนี้ยังทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมในโดเมนเครือข่ายศูนย์ข้อมูล โดยได้ใช้อัลกอริทึมระดับนวัตกรรมอย่าง iLossless ของหัวเว่ย ที่ช่วยทำให้การเกิดข้อมูลสูญหายบนเครือข่ายอีเทอร์เน็ตมีค่าเป็นศูนย์ จึงเสริมประสิทธิภาพการประมวลผลข้อมูลได้ถึง 27% และเสริมประสิทธิภาพการจัดเก็บคลังข้อมูลถึง 30% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโดยรวมของอุตสาหกรรม นอกจากนี้ โซลูชันดังกล่าวยังดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ด้วยระบบ AI อัจฉริยะ ซึ่งสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดทั่วๆ ไปได้ภายในเวลาเพียง 9 นาที โดยใช้เวลาค้นหาข้อผิดพลาดเพียง 1 นาที ระบุตำแหน่งข้อผิดพลาดใน 3 นาที และแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น ด้วยสมรรถนะอันทรงพลังเช่นนี้ จึงดึงดูดผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISPs) และลูกค้าผู้ให้บริการทางการเงิน มากกว่า 40 รายใช้งานโซลูชันดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารไชน่า ธนาคารเมอร์ช้านท์ส ธนาคารไชน่าซิตี้แบงก์ และบริษัท People’s Insurance Co. (Group) of China Ltd. (PICC) เป็นต้น

นอกจากเครือข่ายแคมปัสและโดเมนเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแล้ว โซลูชันนี้ยังเหมาะกับเครือข่ายแบบ WAN เป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยเทคโนโลยีการแบ่งแยกเครือข่าย (slicing) ระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมที่ใช้พื้นฐานจากเทคโนโลยี FlexE จึงช่วยรับรองแบนด์วิดท์ได้ 100% มอบการแบ่งแยกสัดส่วนเครือข่ายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมถึง 5 เท่า โซลูชันที่เต็มไปด้วยฟีเจอร์อันหลากหลายนี้ยังใช้เทคโนโลยี IPv6+ ในการเลือกเส้นทางบนเครือข่ายที่ดีที่สุด

โดยอิงจากจุดประสงค์ของบริการนั้นๆ จึงการันตีค่าความหน่วง (latency) มีความเสถียร และการส่งข้อมูลได้อย่างเยี่ยมยอดให้แก่การบริการที่สำคัญต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบ เช่น บริการสมาร์ทกริดของ ไชน่า โมบายล์ ธนาคารการเกษตรแห่งประเทศจีน และบริการสำหรับท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งต้าซิงของ China Unicom สาขากรุงปักกิ่งด้วยประสบการณ์ด้านเครือข่าย IP ที่มีมากกว่า 20 ปี หัวเว่ยยังคงมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันเครือข่าย IP อัจฉริยะให้มีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงยิ่งขึ้น พร้อมมอบบริการที่ราบรื่นและต่อเนื่องให้กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมและลูกค้าในแวดวงต่างๆ รวมไปถึงภาคการบริการด้านการเงิน ภาครัฐ ภาคคมนาคม และภาคพลังงาน ในกว่า 100 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก

โดยในอนาคต ฝ่ายผลิตภัณฑ์ด้านการสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ยจะร่วมมือกับลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาการออกแบบที่มีนวัตกรรมและความร่วมมือในการให้บริการเชิงลึก เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถมุ่งสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันได้สำเร็จ และมีความพร้อมในการเข้าสู่ยุคแห่ง “5G + Cloud + AI” มากขึ้น ทั้งยังเป็นผู้นำในการสร้างเครือข่าย IP อัจฉริยะได้อย่างต่อเนื่อง

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
รายงานล่าสุด! “Samsung Galaxy S21” จะรองรับ รองรับ S-Pen แต่ต้องซื้อเอง
หลุด! หูฟัง Sony WH-1000X M4 จะสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้มากกว่า 1 อุปกรณ์พร้อมกัน
CASETiFY จับมือ Marvel ปล่อยคอลเลกชั่นแรกของ ‘Iron Man’ ซูเปอร์ฮีโร่สุดล้ำ

Leave Your Reply

*