ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐในหลายประเทศทั่วโลกยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา หนึ่งในเครื่องมือที่อาจเป็น “ทางลัด” ให้ประเทศหนึ่ง ๆ ฟื้นตัวกลับมาได้เร็วกว่าประเทศอื่นก็คือ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ที่สามารถเข้ามาเพิ่มศักยภาพหรือแม้แต่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของภาคเศรษฐกิจให้กับประเทศนั้นไปอย่างสิ้นเชิง

ทั้งยังช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงช่วยลดต้นทุนอีกด้วย ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยอยู่ใจกลางภูมิภาคอาเซียนถือเป็นข้อได้เปรียบในการเร่งผลักดันสู่การเป็นผู้นำด้านการใช้เทคโนโลยี เพราะหมายความว่าธุรกรรมด้านดิจิทัลทั้งหลายที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจต้องใช้ไทยเป็นทางผ่าน

ซึ่งจะเปิดโอกาสทางธุรกิจอย่างมากมายมหาศาลให้แก่ประเทศในอนาคตอันใกล้ คำถามสำคัญคือประเทศไทยเราพร้อมแค่ไหนสำหรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว?

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวในงานสัมมนา POWERING DIGITAL THAILAND 2021: HUAWEI CLOUD & CONNECT ว่า “ในอนาคต เศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักตัวใหม่ในตลาดทั่วโลก

โดยผลการศึกษาพบว่าเมื่อใดที่ภาคเศรษฐกิจในประเทศหนึ่งปรับสัดส่วนด้านเศรษฐกิจดิจิทัลเพิ่มขึ้น 20% จะส่งผลให้ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นได้ถึง 1% นอกจากนี้การลงทุนด้าน ICT ยังให้ผลตอบแทนกลับมามากกว่าการลงทุนทั่วไปถึง 6.7 เท่า ทั้งนี้ เศรษฐกิจดิจิทัลยังจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจและผลักดันการเติบโตในทุกภาคอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 164 ประเทศที่วางกลยุทธ์ด้านดิจิทัลระยะยาวไว้แล้วเพื่อใช้เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ

ซึ่งหัวเว่ยได้มองเห็นความก้าวหน้าของการเติบโตด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และยังแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่จะยกระดับขึ้นเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในภูมิภาคนี้”

หัวเว่ยมองว่าการผสานรวมของเทคโนโลยีด้านการเชื่อมต่อและการประมวลผลคอมพิวเตอร์จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกภาคอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุตสาหกรรมคมนาคม การเงิน พลังงาน การศึกษา ซึ่งจะทำให้เกิดคุณค่าใหม่ ๆ ในสังคม ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงปรับเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลครั้งใหม่ โดยหัวเว่ยเชื่อว่าภายในระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ เทคโนโลยี เช่น 5G, คลาวด์, การประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบ Edge (Edge Computing) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะได้รับการนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานในภาคอุตสาหกรรมของไทยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจดิจิทัลจะมีสัดส่วนมากถึง 30% ของค่า GDP ประเทศไทย และไทยจะสามารถขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียนได้

“เรามั่นใจว่าประเทศไทยมีศักยภาพอย่างเต็มที่ในการเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลในอาเซียน เนื่องจากไทยประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลาวด์, AI และ 5G รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้าน ICT ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจดิจิทัล

หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ไทยมีการเติบโตด้านเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านการสร้างศูนย์กลางความเป็นเลิศใน 4 ด้าน ได้แก่ ศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการเชื่อมต่อ (Connectivity excellence hub), ศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านคลาวด์ (Cloud excellence hub), ศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านดิจิทัลอีโคซิสเต็ม (Digital ecosystem excellence hub) และศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านทักษะดิจิทัล (Digital talent hub)” นายอาเบล เติ้ง กล่าวเสริม

ในด้าน Connectivity excellence hub หัวเว่ยจะลงทุนเพิ่มเติมกับโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูง เพื่อสร้างโครงข่ายในระดับภูมิภาค โดยได้ลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลกับวิศวกรมากกว่า 800 คน เพื่อรองรับการสร้างโครงข่ายชั้นนำให้แก่ไทยสำหรับการใช้งานในภูมิภาคอาเซียน ด้าน Cloud excellence hub หัวเว่ยได้ลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เพื่อส่งมอบความเร็ว ความปลอดภัยของข้อมูล และบริการหลังการขายที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ใช้บริการคลาวด์ของหัวเว่ยในไทย

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังมีแผนลงทุนด้านศูนย์ข้อมูลในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2564 โดยมีมูลค่ากว่า 700 ล้านบาท เพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งที่สามสำหรับรองรับการใช้งานเครือข่ายที่ปลอดภัย ตอกย้ำถึงความสำคัญที่หัวเว่ยมีให้ต่อตลาดประเทศไทยและศักยภาพในการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

ด้าน Digital ecosystem excellence hub หัวเว่ยได้ลงทุนสร้างศูนย์นวัตกรรมเพื่อรองรับการสร้างอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัล ได้แก่ การสร้างศูนย์นวัตกรรม Openlab ในปี 2016 และการสร้างศูนย์นวัตกรรม 5G ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 450 ล้านบาท

ในด้าน Digital talent hub หัวเว่ยยังผลักดันการพัฒนาทักษะและทรัพยากรบุคคลด้านดิจิทัลในประเทศไทยผ่านโครงการ Huawei Academy ทั้งนี้ หัวเว่ยจะยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนประเทศไทยอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง เพื่อช่วยสร้างประเทศไทยที่มีความอัจฉริยะ สนับสนุนประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล

และกลายเป็นดิจิทัลฮับของอาเซียนได้สำเร็จ สะท้อนวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยที่ต้องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ทุกคน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
ซัมซุงอัพเดต Galaxy Wearable ให้กับ Galaxy Buds และ Buds+ จะเพิ่ม Widget สำหรับควบคุมที่หน้าหลัก
Apple อาจเปลี่ยนมาใช้จอ OLED แทน LCD ใน iPad Pro ปี 2024
“iPhone 15” เปลี่ยนหัวชาร์จ แน่! หลัง “อียู” ทำการอนุมัติกฎหมายแล้ว

Leave Your Reply

*