คุณอาจจะคิดว่าฝีมือการถ่ายภาพด้วยสมาร์ทโฟนของคุณนั้นไม่เลวเลยทีเดียว คุณมีภาพสวย ๆ ในอินสตาแกรมเยอะแยะไปหมด คุณรู้ดีว่าจะใช้ฟิลเตอร์แบบไหนถ่ายอะไร

แต่คุณลองเทียบฝีมือตัวเองกับ Boston’s best Instagrammer แล้วหรือยัง ฝีมือของคุณอยู่ระดับเดียวกับเขาหรือเปล่า ถ้ายังไม่ถึงขั้นนั้น เรามีเทคนิคดี ๆ ที่จะยกระดับฝีมือการถ่ายภาพให้คุณได้

1. ถือโทรศัพท์ ให้มั่นคง และควรถ่ายภาพในแนวนอนเสมอ

นี่เป็นกฏเหล็กของการถ่ายภาพด้วยสมาร์ทโฟนเลยทีเดียว ลองคิดดูว่า ทุกสิ่ง มักจะถูกเซ็ทให้เป็นแนวนอน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือว่าทีวี ตาของคนเราก็ถนัดกับการมองในแนวนอนเช่นกัน เหตุผลที่ทำให้เราต้องถ่ายภาพในแนวตั้งนั้นไม่ค่อยจะมีสักเท่าไหร่ ดังนั้น พยายามถ่ายในแนวนอนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2. ให้คิดว่าสมาร์ทโฟนของคุณคือกล้องถ่ายรูป

คนส่วนใหญ่ หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาถ่ายภาพส่งเดชส่งเดา บางครั้งสมาร์ทโฟนแทบจะร่วงหลุดจากมือ แต่หากคุณต้องการจะถ่ายภาพด้วยสมาร์ทโฟน ให้สวยเหมือนกล้องมืออาชีพแล้วล่ะก็ ให้ปฏิบัติต่อมันเสมือนมันเป็นกล้องถ่ายรูป จับให้มั่นคงด้วยมือทั้งสองข้าง นี่ไม่เพียงแค่เป็นการป้องกันไม่ให้สมาร์ทโฟนหลุดมือ แต่ยังทำให้ถืออุปกรณ์อย่างมั่นคง ภาพที่ได้ก็จะสวยคมชัด

3. นับ 1-2-3 ก่อนถ่ายเสมอ

ยิ่งเป็นการถ่ายภาพคนด้วยแล้วนี่เป็นกฏที่จำเป็น เพราะหลายครั้ง เราได้องค์ประกอบภาพที่สวยงาม แต่นายแบบหรือนางแบบนั้นหลับตาพอดี การนับ 1-2-3 ช่วยให้ข้อผิดพลาดลดน้อยลง

4. ถ้าต้องปีนขึ้นไปถ่ายเพื่อให้ได้มุมที่สวยกว่า

ก็ปีนขึ้นไปเถอะ นักถ่ายภาพมืออาชีพบอกว่า มุมมองเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการถ่ายภาพ ไม่ว่าคุณจะใช้สมาร์ทโฟน หรือใช้กล้องมืออาชีพราคาแพง ก็ไม่ต่างกัน ถ้าต้องมุด ก็มุด ต้องปีนขึ้นที่สูงก็ปีน ต้องนอนลงกับพื้น ก็นอน ช่างภาพบอกว่า การที่เราเคลื่อนย้ายตัวเอง จะทำให้เราได้มุมมองใหม่ ๆ ที่มีความแตกต่าง

5. ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรซูมภาพ

ฟังก์ชั่นการซูมของสมาร์ทโฟนนั้น ไม่ค่อยจะสมบูรณ์แบบเท่าไหร่ อาจจะเรียกว่าเป็นจุดอ่อนเลยก็ได้ ถ้าหากคุณลองซูมในขณะที่ถ่ายภาพจะเห็นเลยว่าภาพไม่คมชัด สำหรับกล้องถ่ายภาพดิจิตอล เราซูมได้ แต่ไม่ใช่สำหรับสมาร์ทโฟน ดังนั้น ถ้าต้องการได้ภาพที่ใกล้ขึ้น ก็เดินเข้าไปหรือหาวิธีอื่นที่ไม่ใช่การซูม

6. โฟกัสที่เฟรม

สมาร์ทโฟนมักจะโฟกัสสิ่งที่อยู่หน้าสุด หรืออยู่ตรงกลางเฟรม ซึ่งจะส่งผลให้จุดที่ไม่ได้โฟกัสเบลอ ดังนั้น หากต้องการโฟกัสจุดไหน ก็ให้เลือกในเฟรม แตะลงไปในจุดที่ต้องการโฟกัส รอสักสองวินาที สมาร์ทโฟนก็จะปรับแสง ทำให้คน หรือสิ่งของที่คุณต้องการโฟกัสสว่างคมชัดขึ้น

7. ใช้วิธีการล็อคโฟกัสและรูรับแสง

หลายครั้งเมื่อเราได้ช็อตที่ต้องการแล้ว โฟกัสถูกที่แล้ว แสงดีแล้ว คุณพร้อมที่จะกดชัตเตอร์แล้ว แต่ทันนั้น สมาร์ทโฟนของคุณก็ปรับโฟกัสใหม่ ทุกอย่างก็เลยต้องเริ่มกันใหม่ วิธีนี้ แก้ได้ด้วยการไม่ใช้การโฟกัส และปรับรูรับแสงแบบอัตโนมัติ วิธีการตั้งค่า ทำได้โดยใช้มือแตะที่จุดโฟกัส แช่ไว้สัก 3 วินาที จะปรากฏแถบสีเหลืองขึ้นมาด้านบนจอ ในแถบมีอักษร AE/AF Lock ซึ่งนั้นหมายถึงการล็อกการปรับแสดงอัตโนมัติ และล็อคการโฟกัสอัตโนมัติ

ถ้าคุณล็อกทั้งแสงและโฟกัสในเฟรมจะไม่เปลี่ยน และทำให้คุณสามารถเลื่อนหรือเคลื่อนสมาร์ทโฟนไปในจุดต่าง ๆ โดยไม่ต้องกังวลปัญหาข้างต้นอีกต่อไป

8. HDR เป็นอีกเทคนิคที่สำคัญ

ตัวอักษร HDR จะปรากฏอยู่ด้านบนจอ ซึ่งมันหมายถึง High dynamic range เทคนิคนี้ มีในกล้องถ่ายภาพมานานแล้ว สมาร์ทโฟนก็มีเช่นกัน

เมื่อคุณถ่ายภาพโดยเปิด HDR สมาร์ทโฟน จะแสดงภาพใน 3 ลักษณะคือแสงน้อย ภาพจะมืด แสงมากเกินไปซึ่งภาพจะสว่างมาก และอีกภาพ จะเป็นสภาพแสงที่อยู่ตรงกลาง หลังจากนั้น มันก็จะรวมสิ่งที่ดีที่สุดของแต่ภาพออกมา เพื่อให้ได้ภาพที่ไม่มืดหรือสว่างจนเกินไป

แต่ HDR นี้ จะใช้ไม่ค่อยได้ผลกับการถ่ายวัตถุที่เคลื่อนไหว อย่างเช่น ถ่ายการแข่งขันกีฬา ถ่ายภาพรถกำลังวิ่งบนถนน อาจจะทำให้ภาพในแนวนี้เบลอไม่คมชัด ดังนั้น ในการถ่ายภาพแต่ละแบบ ก็สามารถจะเลือกได้ว่าจะให้ HDR หรือไม่ ตามความเหมาะสม

9. การเพิ่มแสง แฟล็ช ไม่ได้ช่วยเฉพาะการถ่ายภาพในเวลากลางคืนเท่านั้น

หากจะถ่ายภาพคน หรือวัตถุ ที่มีแบคกราวน์สว่าง หน้าคน หรือวัตถุก็จะดำ และมีเงา หากใช้แฟล็ชในสมาร์ทโฟน ก็สามารถช่วยได้ และหากต้องการให้การถ่ายภาพโดยใช้แฟล็ชออกมามีคุณภาพดี ให้เข้าไปถ่ายใกล้วัตถุ

10. การตกแต่งภาพ ขั้นตอนในการตกแต่งภาพ ก็เป็นสิ่งจำเป็น

ภาพบางภาพ มืด หรือสว่างเกินไปสมาร์ทโฟน ก็มีแอพพลิเคชั่นช่วยตกแต่งให้ การเลือกใช้ฟิลเตอร์ อาจไม่จำเป็นมากนัก เพราะโปรแกรมตกแต่ง ก็สามารถสร้างผลงานที่ดีได้ และที่น่าสนใจคือ หลายแอพ เป็นแอพฟรี เช่น Photoshop app, PS Express หรือถ้าอยากให้ภาพออกแนวศิลปะ VSCO cam ก็น่าสนใจเช่นกัน

เทคนิคเหล่านี้ ไม่ได้ใช้เฉพาะสมาร์ทโฟน iOS เท่านั้น ผู้ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เพราะความสามารถในการถ่ายภาพของสมาร์ทโฟนแต่ละรุ่นนั้น ใกล้เคียงกัน อาจจะมีจุดที่แตกต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ขอบคุณที่มา: www.sanook.comwww.americaninno.com

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
[How To] วิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง เมื่อเจอปัญหา “มือถือ” เครื่องร้อน
Tips: แต่งห้องทำงาน เปลี่ยนบ้านเป็นสมาร์ทออฟฟิศ “Work From Home” ให้ได้พื้นที่ลงตัว
11 สิ่งที่ควรลบออกจากหน้าเฟซบุ๊ก เพื่อชีวิตที่เป็นสุข

Leave Your Reply

*