หัวเว่ย เปิดตัวชิพหลักรุ่นแรกของโลก “หัวเว่ย เทียนกัง” (Huawei TIANGANG) เพื่อการใช้งานสำหรับสถานีฐาน 5G โดยเฉพาะ ในงานเปิดตัว 5G ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแถลงความพร้อมสำหรับงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2019 ที่เมืองบาร์เซโลน่า

โดยชิพใหม่ดังกล่าวสามารถรองรับการใช้งานเครือข่าย 5G ทั้งแบบที่ไม่ซับซ้อนและเครือข่ายขนาดใหญ่ระดับโลก   ปัจจุบัน บริษัทมีสัญญา 5G เชิงพาณิชย์แล้ว 30 ฉบับ และได้ส่งมอบสถานีฐาน 5G ไปทั่วโลกแล้วกว่า 25,000 ชุด

หัวเว่ยตั้งใจที่จะรับเอาความซับซ้อนไว้ที่ตัวเองเพื่อให้การใช้งานของลูกค้าง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงได้ลงทุนอย่างหนักหน่วงเพื่อเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง  ชิพ 5G แบบครบวงจรของหัวเว่ยสามารถรองรับเครือข่ายได้ทุกมาตรฐานและทุกคลื่นความถี่ (C band, 3.5G และ 2.6G) ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการไร้สายและคลื่นไมโครเวฟที่ดีที่สุดได้  “หัวเว่ยทุ่มเทลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานมาอย่างยาวนาน เราเป็นบริษัทรายแรกที่ได้สร้างมาตรฐานใหม่ๆ ให้กับเทคโนโลยีหลักๆ เพื่อให้เกิดการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ในวงกว้าง”

มร. ไรอัน ติง กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมของหัวเว่ย กล่าว ก่อนเสริมต่อว่า “ปัจจุบัน หัวเว่ยมีศักยภาพในระดับผู้นำของอุตสาหกรรมที่สามารถส่งมอบเทคโนโลยี 5G แบบครบวงจร ด้วยเครือข่าย 5G ที่ไม่ซับซ้อน และไม่ต้องดูแลรักษามาก เราเป็นผู้นำในการวางโครงข่าย 5G เชิงพาณิชย์ และกำลังสร้างระบบนิเวศด้านอุตสาหกรรมให้เติบโตเฟื่องฟู”

มร. ไรอัน ติง กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมของหัวเว่ย ระหว่างกล่าวปาฐกถา

ชิพหลักสำหรับสถานีฐาน 5G รุ่นแรกของโลก

ในงานหัวเว่ยได้เปิดตัวชิพหลักสำหรับ 5G รุ่นแรกของอุตสาหกรรรม ในชื่อ “หัวเว่ย เทียนกัง” มาพร้อมกับนวัตกรรมจากการค้นพบอันยิ่งใหญ่ในด้านการผสมผสานการใช้งาน พลังการประมวลผล และแบนด์วิธคลื่นความถี่ ชิพตัวนี้มีคุณสมบัติด้านการผสานการใช้งานในระดับสูง สามารถรองรับการใช้งานที่ผสานกันระหว่างพาวเวอร์แอมพลิไฟเออร์ (PA) แบบแอคทีฟในสเกลใหญ่และสายอากาศแถวลำดับแบบพาสซีฟ (Passive antennae arrays) กับเสาอากาศขนาดเล็ก ชิพนี้ยังมีความสามารถในการประมวลผลที่สูงเป็นพิเศษ มากกว่าชิพรุ่นก่อนถึง 2.5 เท่า โดยใช้อัลกอริธึ่มล่าสุดและเทคโนโลยี Beamforming ชิพหนึ่งตัวจึงสามารถควบคุมช่องสัญญาณได้มากถึง 64 ช่อง ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นสูงสุดของอุตสาหกรรม ทั้งยังสามารถรองรับแบนด์วิธคลื่นความถี่ได้สูงถึง 200 เมกะเฮิร์ตซ์ เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการใช้งานเครือข่ายในอนาคต

ชิพดังกล่าวยังทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างมากมายในส่วนของชุดเสาอากาศแบบแอคทีฟ ด้วยขนาดที่เล็กลง 50% มีน้ำหนักเบาขึ้น 23% และชุดสถานีฐานกินไฟน้อยลง 21%   สถานีฐาน 5G รุ่นนี้ใช้เวลาในการติดตั้งใช้งานน้อยกว่าสถานีฐาน 4G ถึงครึ่งหนึ่ง คุณสมบัติดังกล่าวจึงช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ช่วยลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของและการติดตั้งใช้งานเครือข่าย

โซลูชั่น 5G ที่ใช้งานง่าย เพื่อการติดตั้งใช้งาน 5G ที่รวดเร็ว ครอบคลุมทั่วโลก

หัวเว่ยได้เริ่มเปิดใช้งานเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์เมื่อปี 2561 และเป็นผู้นำในการแนะนำผลิตภัณฑ์ 5G เชิงพาณิชย์แบบครบวงจรออกใช้งาน  รวมถึงการทดสอบภาคสนามและรับรองความถูกต้องของเทคโนโลยี 5G และการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่  ณ สิ้นปี 2561 หัวเว่ยได้ดำเนินการทดสอบและรับรองความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ 5G ก่อนนำออกใช้งานเชิงพาณิชย์ในประเทศจีนเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์ และพร้อมสำหรับการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์แล้ว

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 สถานีฐาน 5G ของหัวเว่ยได้รับรางวัลความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับเฟิร์สคลาส (First Class Progress in Science and Technology Prize) สำหรับความพยายามทุ่มเทจนนำไปสู่การค้นพบครั้งสำคัญทางด้านเทคโนโลยีและการออกแบบโมดูลแบบครบวงจร ชุดสถานีฐานทั้งหมดใช้เบลดฟอร์มแฟคเตอร์ (Blade Form Factor) และสามารถประกอบรวมโมดูลต่างๆ เข้าด้วยกันตามต้องการ ทำให้การติดตั้งสถานีฐาน 5G มีความสะดวกง่ายดายเช่นเดียวกับการประกอบบล็อคตัวต่อ

“ผลิตภัณฑ์ 5G แบบครบวงจรและรองรับการใช้งานทุกรูปแบบของหัวเว่ยนั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับประสบการณ์การใช้งาน 5G ได้ถึงขีดสุด” มร. หยาง เฉาบิน ประธานบริหาร ฝ่ายผลิตภัณฑ์เครือข่าย 5G ของหัวเว่ยกล่าว “ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการติดตั้งใช้งานเครือข่าย รวมถึงการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาได้เป็นอย่างมาก ทำให้การติดตั้งใช้งานเครือข่าย 5G ง่ายดายกว่า 4G”

ปัญญาประดิษฐ์สำหรับเครือข่ายเพื่อการขับขี่อัตโนมัติ

ในวันเดียวกัน หัวเว่ยยังได้เปิดตัวสวิตซ์ดาต้าเซ็นเตอร์ตัวแรกของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยมันสมองของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI   สวิตซ์ดาต้าเซ็นเตอร์นี้เปี่ยมด้วยความสามารถระดับชั้นนำในอุตสาหกรรม ทำให้ค่าแพ็คเก็ตลอส (Packet loss) ของอีเธอร์เน็ตลดลงเหลือศูนย์และค่าความหน่วงทั้งวงจรน้อยกว่า 10 มิลลิวินาที  ใช้พลังงานไม่ถึง 8 วัตต์ ในขณะที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลเหนือกว่าซีพียูเซิร์ฟเวอร์แบบทู-เวย์ 25 เครื่องรวมกัน

หัวเว่ยยังได้แนะนำเทคโนโลยี AI แบบครบทุกระดับ (Full-stack AI) ที่ครอบคลุมการใช้งานหลากหลายด้าน สำหรับใช้ในเครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติ และยังได้พัฒนาโซลูชั่น SoftCOM AI เพื่อช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมศักยภาพของเครือข่าย รวมถึงการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา ตลอดจนยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้

นอกจากนี้ มร. ริชาร์ด หยู คณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจคอนซูมเมอร์ ของหัวเว่ย ยังได้ประกาศเปิดตัวชิพ 5G แบบมัลติโหมดที่เร็วที่สุดในโลกสำหรับดีไวซ์และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ด้วย

งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2019 จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ ที่เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ภายในงาน หัวเว่ยจะนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นต่างๆ ที่บูธ 1H50 Fira Gran Via ฮอลล์ 1 บูธ 3I30 ฮอลล์ 3 โซน Innovation City ฮอลล์ 4 บูธ 7C21 และ 7C31  ฮอลล์ 7  สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์  www.huawei.com/mwc2019

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
ภาพหลุดสติ๊กเกอร์เคสเผยรายชื่อ “iPhone 12” ครบทุกรุ่น
เผยภาพจริง Motorola Razr มือถือพร้อมจอพับ ดีไซน์สวย ก่อนเปิดตัว
เผยข้อมูลใหม่ “AirPods” จะเปลี่ยนเป็น “USB-C” พร้อมกับ “iPhone 15” ในปี 2023

Leave Your Reply

*