การชาร์จระบบ Qi คือเทคโนโลยีใหม่ที่มาแรงสำหรับการชาร์จแบตเตอรี่ให้ผลิตภัณฑ์ไร้สาย แต่ผลิตภัณฑ์ งQi คืออะไรและมีหลักการทำงานอย่างไร?

หากคุณสนใจหาซื้อผลิตภัณฑ์ไร้สายอย่างสมาร์ตโฟน หูฟัง หรือเมาส์ คุณอาจสังเกตเห็นผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่มีจุดเด่นคือ “การชาร์จระบบ Qi” ถึงแม้ชื่อจะฟังดูแปลก แต่จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ลึกลับขนาดนั้น โดยความจริงแล้วจะเกี่ยวข้องกับการถ่ายโอน “พลังชีวิต” เข้าสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของคุณ

ซึ่งการชาร์จระบบ Qi จะเป็นในลักษณะไร้สายเชื่อมต่อ ที่จะทำการชาร์จไฟให้แบตเตอรี่ด้วยไฟฟ้าผ่านคุณสมบัติที่มีความมหัศจรรย์ของแม่เหล็ก นี่คือความหมายของการชาร์จระบบ Qi และวิธีการทำงานของระบบนี้

Qi คือชื่อมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับการถ่ายโอนพลังงานแบบไร้สายรูปแบบหนึ่ง ด้วยการชาร์จแบตเตอรี่โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับเต้าเสียบไฟฟ้าหรือเครื่องแปลงไฟ วิธีการชาร์จแบบนี้ถูกนำมาใช้งานสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วใช้กับแปรงสีฟันไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ควรเชื่อมต่อกับไฟฟ้าโดยตรง

แต่ปัจจุบันนี้การชาร์จระบบ Qi ได้สร้างมาตรฐานให้กับวิธีที่ผู้ผลิตใช้ในการสร้างอุปกรณ์ชาร์จและแบตเตอรี่ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องดีสำหรับผู้บริโภคที่ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่ร้อน หรือการชาร์จแบตเตอรี่มากเกินไปจนเป็นอันตราย

Qi ถูกใช้เป็นมาตรฐานมาตั้งแต่ปี 2008 แต่เราเพิ่งเริ่มเห็นว่ามีการขยายตัวในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคเช่นสมาร์ตโฟนและหูฟัง เช่น HyperX Cloud Flight S ซึ่งชื่อของ Qi เมื่อคุณออกเสียงคำนี้ว่า “ชี่” จะเป็นการอ้างอิงถึงคำภาษาจีนที่หมายถึงพลังงานหรือพลังชีวิตนั่นเอง

(Image: HyperX Cloud Flight S)

กระบวนการชาร์จของ Qi อาจดูลึกลับเปรียบได้กับอารยธรรมโบราณของจีน แต่กลับเป็นวิทยาศาสตร์ที่เรียบง่าย อย่างไรก็ตาม การส่งกระแสไฟฟ้า โดยปราศจากสายนั้น ไม่ได้เป็นแนวคิดใหม่แต่อย่างใด หากย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 19 เจ้าพ่อสุดเจ๋งของวงการอาวุธในวีดีโอเกม Nikola Tesla ได้หาวิธีถ่ายโอนพลังงานด้วยการใช้แม่เหล็ก ความคิดของเขามีพื้นฐานมาจากการทำงานของนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ Michael Faraday ในปี 1831

ซึ่งใครก็ตามก็สร้างสนามแม่เหล็กได้ โดนการพันลวดรอบๆ แท่งเหล็ก แล้วส่งกระแสไฟฟ้าผ่านมัน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานเดียวกันมาจนทุกวันนี้ เพียงแต่แทนที่จะใช้แท่งทาวเวอร์ขนาดใหญ่ ก็เป็นเพียงขดลวดเล็ก ๆ อยู่ภายในแท่นชาร์จพิเศษเหล่านี้

แท่นชาร์จนี้ อย่างเช่นบน HyperX ChargePlay มีขดลวดยาวเรียงตัวอยู่อย่างหนาแน่น จากนั้นขดลวดนี้ก็จะมีไฟฟ้ากระแสสลับผ่านมายังเต้าเสียบของคุณ และต้องขอบคุณกฏการเหนี่ยวนำของ Faraday ที่สิ่งนี้จะสร้างสนามแม่เหล็กรอบขดลวด

จากกฏเดียวกันนี้ หมายความว่า ขดลวดอื่นๆ ภายในสนามแม่เหล็กนั้น จะให้ผลตรงกันข้ามกับสนามแม่เหล็กที่ย้อนกลับมาเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสสลับในขดลวด หากขดลวดเส้นที่สองต่ออยู่กับแบตเตอรี่ในเมาส์ไร้สายของคุณ มันก็จะทำการชาร์จไฟ เช่นเดียวกับการต่อเข้ากับที่ชาร์จเช่นกัน

(Image: HyperX ChargePlay Base)

 อาจฟังดูแล้วซับซ้อน แต่ความหมายก็คือ แทนที่จะต้องคอยคลำหาสายมาต่อสำหรับชาร์จ คุณสามารถวางอุปกรณ์ลงบนแท่นชาร์จและขดลวดจะทำสิ่งนั้นให้แทน ซึ่งน่าอัศจรรย์ที่เรากำลังจะเริ่มมองเห็นและได้ใช้งานเทคโนโลยี “ใหม่” ที่เคยถูกคิดค้นมานานกว่า 150 ปีที่แล้ว

เมื่อคุณเรียนจบหลักสูตรระยะสั้นของเราเกี่ยวกับการชาร์จด้วย Qi คุณอาจจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย และน่าจะทำให้คุณก็ทราบดีว่าควรจะซื้อที่ชาร์จไร้สายอย่างไรดี ที่สำคัญคือ ขอให้เชื่อมั่นในมาตรฐาน Qi ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างยาวนาน

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
Samsung ปล่อยอัปเดต One UI 4.1.1 เวอร์ชั่นใหม่แกะกล่องให้ Galaxy S22 Series เริ่มในสหรัฐอเมริกา
หลุดแม่พิมพ์ที่อ้างว่าเป็น “iPhone 12” รุ่นใหม่ คาดใกล้ความจริงที่สุดแล้ว
Samsung ยืนยันงาน Unpacked ก.พ. นี้ พร้อมเปิดตัว Galaxy S22 เรือธงรุ่นใหม่

Leave Your Reply

*