บางสิ่งบางอย่างอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ หากไม่สามารถจัดสรรทรัพยากร หรือใฝ่หาสิ่งต่างๆที่มีอยู่มาปรับใช้

เปรียบเหมือนเครื่องมือที่ถูกเก็บไว้ในตู้ห้องเก็บของ หรือหนังสือที่ตั้งใจว่าจะอ่านแต่วางทิ้งไว้บนโต๊ะข้างเตียง ข้อมูลก็เช่นเดียวกัน เพราะข้อมูลต่างๆนั้นเป็นสิ่งขับเคลื่อนองค์กร และเป็นหลักการพื้นฐานที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อสภาวะธุรกิจในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น

ปัญหาโดยทั่วไปคือข้อมูลมักถูกจัดเก็บแบบกระจัดกระจายอยู่ในระบบต่างๆ รวมถึงระบบคลาวด์ ซึ่งทำให้การนำข้อมูลที่นับเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจมาใช้งานนั้น กลายเป็นเรื่องยากสำหรับบริษัทต่างๆ

ล่าสุดออราเคิลได้นำเสนอผลวิจัยของ Forrester Consulting ที่เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของแพลตฟอร์มมัลติ-ไฮบริดคลาวด์ ที่เป็นการรวบรวมข้อมูลส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และบอกถึงปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจทางธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ

ผลวิจัยด้านการจัดการข้อมูลเพื่อผลักดันองค์กรให้เท่าทันยุคแห่งความหลากหลายทางเทคโนโลยี และการนำเอาจุดเด่นของระบบเซิร์ฟเวอร์พื้นฐานที่มีไว้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลต่างๆมาปรับใช้ร่วมกัน (Moving the Needle: Data Management for the Multi-Hybrid Age of IT) เผยถึง การสำรวจเจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายไอที ที่เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจรวมทั้งหมด 670 คน แบ่งเป็น 82% ตระหนักถึงเรื่องการลงทุนเพื่อสร้างการบริหารจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสมซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น แต่ 73% ยอมรับว่าในองค์กรนั้นมีวิธีสร้างการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้ไม่สามารถการจัดหาข้อมูลให้กับผู้ถือหุ้นได้เท่าที่ต้องการ

มร.ชุง เฮง รองประธานกรรมการอาวุโส ออราเคิล ซิสเต็ม ประจำภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา ญี่ปุ่นและเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ณ ตอนนี้ องค์กรต่าง ๆ ในแทบเอเชียแปซิฟิกนั้นมีความก้าวหน้ามากขึ้นในการรวบรวมแหล่งจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ และ กำลังประสบความสำเร็จในด้านมาตรการความปลอดภัย และการบริหารจัดการข้อมูล แต่ผลวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นถึง การที่องค์กรต่างๆจดจ่อกับเรื่องเหล่านี้มากเกินไปอาจทำให้ยังไม่เล็งเห็นถึงประโยชน์ของแพลตฟอร์มมัลติ-ไฮบริดคลาวด์ที่ช่วยดึงประสิทธิภาพการทำงานที่โดดเด่นของระบบองค์กรต่างๆ และส่งเสริมการทำงานที่มีความหลากหลาย ที่จริงแล้วมีบริษัทในญี่ปุ่น และแทบเอเชียแปซิฟิกเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ให้ความสำคัญในด้านการบริหารจัดการข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบกับในยุโรปซึ่งมีถึง 2 ใน 3 ดังนั้นองค์กรต่างๆจึงจำเป็นต้องสร้างความคุ้นเคยกับการใช้ระบบมัลติคลาวด์ โดยที่อาจจะต้องมองข้ามความกังวลต่างๆไป” 

งานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นถึง 64% ของผู้ตอบแบบสอบถาม เผชิญความยุ่งยากในการบริหารจัดการกับระบบแบบมัลติ-ไฮบริด ที่เป็นการนำระบบการทำงานในองค์กรมาเชื่อมต่อกันเป็นระบบเดียว ด้วยความซับซ้อนต่างๆที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับระบบการใช้เทคโนโลยีที่มีความแตกต่างกันเป็นทุนเดิม ตลอดจนความยุ่งยากในการเข้าถึงข้อมูล จึงไม่น่าแปลกใจว่า 70% ของคนในองค์กรมีความต้องการให้ระบบเทคโนโลยีต่างๆนั้นไม่ยุ่งยาก ง่ายต่อการทำงาน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ

อีกประเด็นสำคัญที่ระบุไว้ผลการวิจัยเน้นถึงเรื่องความกังวลต่อความปลอดภัย และการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งกำลังเป็นจำกัดขอบเขตในการสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ ชี้ให้เห็นว่าการเก็บข้อมูลในระบบมัลติคลาวด์ถูกกระตุ้นให้แพร่หลายมากขึ้นเนื่องจากความจำเป็นต่อการทำงานที่มีความหลากหลาย และเป็นการเข้าถึงประสิทธิภาพการทำงานของระบบองค์กร โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 6 ใน 10 กล่าวถึง “การเข้าถึงเทคโนโลยีและขีดความสามารถเฉพาะด้าน” เป็นตัวกระตุ้นให้คนในองค์กรหันมาปรับกลยุทธ์จัดเก็บข้อมูลบนระบบมัลติคลาวด์

ถึงแม้บริษัทกว่า 83% จะเชื่อว่ามาตรฐานเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลยังคงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่องค์กรก็ต้องเดินหน้าควบคู่ไปกับแนวทางการบริหารจัดการข้อมูล โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่า ในขณะนี้พวกเขายังคงขาดความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นในการป้องกันจัดเก็บข้อมูลอย่างเหมาะสม และอาจยังไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามข้อกำหนดด้านความมั่นคงปลอดภัย

หากจัดการระบบเองในองค์กรอาจเป็นเรื่องที่ยาก จากผลวิจัยจึงแนะนำว่าให้องค์กรต่าง ๆ พิจารณาหาพันธมิตรด้านเทคโนโลยีของตนเองเพื่อให้มีแพลตฟอร์มที่ผสมผสานการทำงานได้ในแพลตฟอร์มเดียว ซึ่งจะแสดงผลข้อมูลแบบเบ็ดเสร็จจากระบบที่เป็นฐานข้อมูลหลักไปจนถึงระบบฐานข้อมูลย่อยที่ถูกนำมารวบรวมไว้ด้วยกัน พร้อมฐานระบบความปลอดภัยของข้อมูลที่จะสามารถปรับไปตามสถานการณ์ที่เผชิญในปัจจุบันและ ปรับไปตามความซับซ้อนของข้อมูลในอนาคต

ผลการศึกษาที่สำคัญ

  • 82% ต้องการให้กลยุทธ์ด้านข้อมูลของบริษัททำให้เกิดความเข้าใจต่อลูกค้า และประสบการณ์การบริการที่มีต่อลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
  • องค์กร 73% รายงานว่าองค์กรต่างๆมีกลยุทธ์การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้พวกเขาไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการทำงานได้
  • ข้อมูล 36% ยังคงถูกจัดเก็บในระบบของสถานที่ทำงาน 19% จัดเก็บบนคลาวด์สาธารณะ และ 18% ในระบบคลาวด์ส่วนบุคคล
  • ลักษณะของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บโดยองค์กรต่างๆนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยข้อมูล 31% อยู่ในรูปแบบตางราง /มีแบบแผน และที่เหลือจัดเก็บแบบทั้งไม่มีตารางที่เป็นแบบแผน หรือไม่มีแบบแผนใดๆเลย โดยแบ่งเป็นส่วนที่เป็นข้อมูลตัวอักษร 18% และที่เหลือเป็นข้อมูลรูปภาพ/วีดีโอ ข้อมูลที่เครื่องสร้างขึ้น ข้อมูลการถ่ายทอด และอื่น ๆ เฉลี่ยอย่างละเท่า ๆ กัน
  • ภาคเอกชนและกลุ่มค้าปลีกส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพในด้านการจัดเก็บข้อมูลอยู่ในระดับต่ำ โดยภาคเอกชนและองค์กรด้านสุขภาพ 34% ยังมีกลยุทธ์ด้านการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์

*ออราเคิลมอบหมายให้ Forrester Consulting ทำการประเมินระดับของกลยุทธ์การบริหารจัดการข้อมูลขององค์กรในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และตะวันออกกลาง โดย Forrester Consulting ได้ทำการสำรวจผ่านระบบออนไลน์กับบรรดาผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานระบบข้อมูลและกลยุทธ์ด้านข้อมูล รวมถึงได้ทำการสัมภาษณ์รอบพิเศษกับผู้บริหารระดับสูงในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม เพื่อทราบถึงแนวทาง ตัวกระตุ้น และวิธีการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการข้อมูลขององค์กรเหล่านั้น

ข่าวประชาสัมพันธ์

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
ซัมซุงชวนปรับตัวรับ New Normal ในยุคที่ความสะอาดต้องมาก่อน กับ Samsung Caring Mode
ประเทศไทยขึ้นนำ 3 ประเทศในอาเซียน หันมาใช้ซอฟต์แวร์ถูกฏหมายในการดำเนินธุรกิจ
Booking.com เปิดตัวฟีเจอร์ด้านความยั่งยืนแบบอัปเดตใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สำหรับที่พัก รถเช่า และตั๋วเครื่องบิน

Leave Your Reply

*